Dec 5, 2007

กฎหมายจักรยาน

พอจะสรุปที่สำคัญได้ดั่งนี้

- ผู้ขับขี่รถจักรยานทุกประเภท ต้องขอออกใบอนุญาตขับขี่ก่อนนำรถจักรยานออกไปขับขี่บนทางหลวง
- เฉพาะเกวียนเท่านั้น ที่สามารถนำมาขับขี่บนทางหลวงได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่
- ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยาน ๒ ล้อ มีแต่ประเภทตลอดชีพเท่านั้น- การขอให้ออกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยาน ๒ ล้อ เพื่อการขับขี่ได้ทั่วประเทศนั้น ผู้ขอให้ออกใบอนุญาตขับขี่ ต้องมีอายุ ๑๓ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป


ถ้าต้องการข้อมูลฉบับสมบูรณ์ กรุณาส่งอีเมล์มาที่ kcijennie@gmail.com ส่งให้ฟรีค่ะ

หัวข้อที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยานในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๒ การจดทะเบียนและการทำใบขับขี่จักรยาน การบรรทุกและการรับจ้างของล้อเลื่อน
หัวข้อที่ ๓ ลักษณะรถ กฎจราจร และมารยาทในการใช้จักรยาน
หัวข้อที่ ๔ กฎระเบียบในทางระหว่างเมือง ป้าย เครื่องหมายจราจรนอกเมือง กับข้อกำหนดทางวิศวกรรมของทางจักรยานและที่จอดจักรยาน
หัวข้อที่ ๖ พิกัดอัตราศุลกากร
หัวข้อที่ ๗ การประกันภัย
หัวข้อที่ ๘ การได้มา การจัดหาที่ดินเพื่อสร้างทางจักรยาน และการดูแลรักษา
หัวข้อที่ ๙. ตัวอย่างองค์การด้านระบบขนส่งมวลชน ที่มาแห่งที่ดินและทุนดำเนินการ
หัวข้อที่ ๑๐. หน่วยงานเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย และจัดระบบทางจักรยาน

ประวัติความเป็นมาจักรยานในประเทศไทย

จากหนังสือจดหมายเหตุรายวันในหนังสือ" ปุญญกถาพระประวัติและจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ " ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ หน้า ๘๗ ( บันทึกระหว่างเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๔๒๕ )

ที่ได้ทราบจากบันทึกจดหมายเหตุรายวันจึงเห็นเป็นได้ว่ามีรถถีบได้เข้ามาเป็นครั้งแรกในช่วงสมัย ร. ๕ การสั่ง - ซื้อ-ส่งจักรยานโดยทางเรือจากยุโรปมาถึงไทยในสมัยนั้นใช้เวลาเกือบปี ดังนั้นจึงถือเอาว่ารถจักรยานปรากฏในสยามช่วงปี พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยบันทึกเป็นทางการเมื่อ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นปที่เริ่มต้นจักรยานในประเทศ ไทย นับเนื่องถึงปัจจุบันนี้ยาวนานถึง ๑๑๗ ปีแล้ว

เชื่อกันว่ารถจักรยานใน สยาม ที่รู้จักกันในนาม รถถีบ มีเข้ามาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๔ ตอนปลายแล้ว ( ระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ ) ตรงกับ ค.ศ. ๑๘๕๑ - ๑๘๖๘ ซึ่งเป็นปีที่ฝรั่งเศษ, เยอรมัน ,อังกฤษ ระดมความคิดสร้างสรรค์จักรยานประดิษฐกรรมเฟื่องฟูที่สุดก่อนเปิดยุคอุตสาหกรรมพัฒนา ถึงขั้นผลิตส่งออกขายทั่วโลกในปี ๑๘๘๕

ในฝรั่งเศษเองคลั่งใคล้จักรยานมากที่สุดในปี ๑๘๖๗ หลังจากนั้น ๑ ปี จึงจะมีคนริเริ่มทำจักรยานเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ในปี ๑๘๖๙ บริษัทโครเวนตี้ ที่อังกฤษเริมผลิตจักรยานล้อโตชื่อ เพนนีพาร์ ทิง ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกจนเป็นที่มาของจักรยานที่ปรากฏเห็นกันในสยามตามบันทึก

ต่อมาในสมัย ร. ๕ รถจักรยานเข้ามาในสยาม เป็นพาหนะส่วนตัวที่ชาวกรุงนิยมนัก ถีบกันเกร่อทั้งไทยและเทศ

รถถีบสมัย ร. ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ ค.ศ. ๑๘๖๘ - ๑๙๑๐ มีการสั่งจักรยานมาขายเป็นครั้งแรก กรมหลวงราชบุรีฯ สั่งจักรยานมา ๑๐๐ คัน กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ สั่งจักรยานมา ๑๐๐ คัน

มีการฝึกหัดขี่จักรยานในรั้ววังฯ....มีการประกวดแฟนซีขี่จักรยาน...มีการตั้งสโมสรผู้ขี่จักรยาน และมีการซื้อขายเป็นต้นแบบการค้าจักรยานครั้งแรกใน สยาม

การจำหน่ายจักรยานในสมัยนั้นไม่มีใครบันทึกว่าเป็นรถอะไร...ยี่ห้ออะไร...มีแต่การประกาศขายโดยผ่านประเทศสิงคโปร์ ในยุคนั้น ปรากฏชื่อจักรยานตรา ROYAL PSYCHO จากหนังสือพิมพ์บางกอกไตม์ เมื่อ ๕ ตุลาคม ๒๔๓๕ ทำให้เชื่อได้ว่าคนไทย มีจักรยานตรา ROYAL PSYCHO ใช้ในสมัย ร. ๕ แล้วหนึ่งตรา ในรัชกาลที่ ๖ รถจักรยานได้มีบทบาท ในท้องถนนไมแพ้ รถยนต์ เนื่องจากราษฏรสามารถที่จะซื้อมาขี่ได้.สะดวกกว่าแต่ก่อนเพราะนอกจากจะมีขายในกรุงเทพ ฯและต่างจังหวัดแล้ว ราคาก็ถูกกว่าแต่แรกหลายเท่า รถจักรยานจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากมาย

ในสงครามอินโดจีน รถจักรยานก็มีส่วนใช้เป็นยานพาหนะในกองทัพบกของไทย ด้วย จักรยานยี่ห้อ ฟิลลิปส์ สมัยนั้นราคา ๘๐๐ บาท....ยี่ห้อ ซันบีม เป็นรถแบบสปอร์ต ราคาคันละ ๑,๒๐๐ บาท หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา รถจักรยานยี่ห้อ ราเลย์ และ ยี่ห้อ ซัมบีม เป็นรถที่ดีที่สุด และ ราคาแพงที่สุดตามลำดับปัจจุบันรถจักรยานสามารถสร้างขึ้นได้ในเมืองไทย ราคาจึงขายกันเพียงคันละ ๓๐๐ - ๔๐๐ บาทเท่านั้น และยังพลอยทำให้จักรยานนอกราคาถูกลงด้วยเห็นงามตามเขา

ในความเป็นจริง จักรยานไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์หรือผลผลิตของคนไทย เพียง เห็นงามตามเขา แบบที่พูดกันว่า ฝรั่งทำ...เจ๊กขาย...ไทยถีบ..คนไทยเคยใช้จักรยานมานานถึง ๑๑๗ ปี แล้ว

ที่มา http://vtbicycle.exteen.com/

ประวัติจักรยาน

ประวัติจักรยานจักรยานคันแรกได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2377 โดย Kirkpatrick Mcmillan แห่งสกอตแลนด์ ได้ดัดแปลงแบบมาจาก Jeen Theson หลักฐานนี้ได้พบในอียิปต์และในปอมเปวี ซึ่งได้เขียนภาพไว้บนผนังปูน

จักรยานได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2408 Pierre Michaux และ Pierre Lallement ได้ประดิษฐ์จักรยานขึ้นใหม่ โดยมีบันไดถีบเหมือนจักรยานในปัจจุบัน และมีสายโซ่โยงไปยังเพลาล้อหลัง แต่อย่างไรก็ตามจักรยานในสมัยก่อนยังไม่มีล้อกันสะเทือน ทำให้เวลาเคลื่อนที่จะสะเทือนมาก

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2422-2428 ได้มีการดัดแปลงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ได้ถูกออกแบบใหม่และปรับปรุงให้ดีขึ้นโดย J.K. Starley มีการอัดลมเข้าไปในยางรถเพื่อกันสะเทือน

ในปี พ.ศ. 2436 ประดิษฐ์เบรกให้รถหยุดได้ตามต้องการในปี พ.ศ. 2441 มีผู้ออกแบบให้รถมีล้อหน้าและล้อหลัง จนในที่สุดจักรยานก็มีสภาพเหมือนในปัจจุบัน

การแข่งขันจักรยานครั้งแรกเป็นการแข่งขันจากนครปารีสไปเมืองรูออง ประเทศผรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2412 โดยมีนักจักรยาน ชื่อ James Moore ชาวอังกฤษเป็นผู้ชนะเลิศ

สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (International Cycling Union หรือ Union Cycling International, U.C.I) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2443 ณ นครปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นประธานสหพันธ์คนแรก

ในปี พ.ศ. 2507 เมื่อมีการแข่งขันจักรยานจึงได้มีนักกีฬาจักรยานอาชีพเข้าร่วมแข่งขันกับนักกีฬาสมัครเล่นด้วย ทำให้นักจักรยานสมัครเล่นเกิดความเสียเปรียบเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 18 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ขอร้องให้สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (U.C.I.) ได้แยกนักกีฬาจักรยานอาชีพกับนักกีฬาจักรยานสมัครเล่นออกจากกัน โดยมีการบริหารแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด ดังนั้น การแข่งขันจักรยานสมัครเล่นครั้งแรกได้เกิดขึ้นในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2511 ณ กรุงเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก เป็นต้นมา

วันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2508 ณ เมืองซานซีบาสเตีย ประเทศสเปนได้มีการประชุมสหพันธจักรยานนานาชาติ และได้แยกผู้รับผิดชอบจักรยานออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สหพันธ์จักรยานสมัครเล่นนานาชาติ (Federation International Amateur de Cyclisme หรือ มีชื่อย่อว่า (F.I.A.C.)
2. สหพันธ์จักรยานอาชีพ (Federation International de Cyclisme Professional หรือ F.I.C.P.)ประธานสหพันธ์จักรยานสมัครเล่นนานาชาติ (F.I.A.C.) ได้แก่ Adriano Rodoni ชาวเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี

ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ที่เมืองสมาชิกของ F.I.A.C. จำนวน 130 ประเทศข้อมูลจาก

ที่มาข้อมูล : http://www.thaicycling.com/